http://www.tcmetal2549.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  โลหะที่ผลิต  เว็บบอร์ด  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 28/02/2009
ปรับปรุง 23/07/2021
สถิติผู้เข้าชม2,186,432
Page Views2,918,230
Menu
หน้าแรก
โลหะที่ผลิต
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
ชิ้นงานหล่อไล่ขี้ผึ้ง
ชิ้นส่วนเครื่องจักรผลิตขวดแก้ว
อลูมิเนียม
ทองเหลือง
เหล็กหล่อเหนียว(fcd)
เหล็กหล่อ(fc)
สแตนเลส
อะไหล่เครื่องจักร
อะไหล่เครื่องยิงทราย
เหล็กดิบ
เตาถลุงเหล็กดิบ
เหล็กกล้า
เหล็กหล่อ
มาตรฐานเหล็กในงานอุตสาหกรรม
คุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ ที่ผสมลงในเหล็ก
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก
ตารางเทียบเกรดมาตรฐานและหนังสืออ้างอิง
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

มาตรฐานเหล็กในงานอุตสาหกรรม

                ในงานอุตสาหกรรมนั้นมีเหล็กอยู่มากมายหลายชนิด บริษัทผู้ผลิตแต่ละแห่งก็พยายามที่จะผลิตเหล็กให้มีคุณภาพต่าง ๆ กัน ผู้ใช้ก็ต้องการเลือกใช้เหล็กให้ตรงกับลักษณะงานของตนดังนั้นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้จำเป็นต้องตกลงทำความเข้าใจร่วมกันเพื่อเหล็กที่ผลิตออกมานั้นจะได้นำไปใช้งานได้ตรงตามความต้องการ จึงได้มีการกำหนดชนิดและปริมาณของสารต่าง ๆ ที่ประสมในเหล็กร่วมกันเป็นมาตรฐานของเหล็กในงานอุตสาหกรรมขึ้น

                มาตรฐานของเหล็กในงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่กำเนิดมาจากประเทศมหาอำนาจทางอุตสาหกรรม ที่พยายามตั้งมาตรฐานเหล็กของตนเองขึ้นมา เพื่อให้ประเทศที่ใช้เหล็กของตนยอมรับและนำไปใช้มาตรฐานของเหล้กที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมปัจจุบันมี 21 ระบบด้วยกันคือ

                1.  ระบบอเมริกันที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 ระบบ

                -   SAE ( SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEER)

                -   AISI (AMERICAN IRON AND STEEL INSTITUTE)

                2.  ระบบเยอรมัน

                -  DIN (DEUTSCH INDUSTRIAL NORMS)

ระบบอเมริกัน  

1.  ระบบ  SAE   เป็นมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ของอเมริกามาตรฐานของระบบนี้ จะนำหน้าด้วยอักษรSAE แล้วตามด้วนตัวเลข 4-5 หลัก   ตัวอย่างเช่น
 SAE    4320  หลักที่เหลือ
 หลักที่ 2.   SAE    4320
 หลักที่ 1. ชนิดของมาตรฐาน

ตัวเลขหลักที่ 1

                ในตัวเลขหลักที่    1   นั้นจะบอกชนิดของเหล็กกล้ามีอยู่ 9 ตัวเลขคือ
                เลข 1.  หมายถึง เหล็กกล้าคาร์บอน
                เลข 2.  หมายถึง เหล็กกล้านิเกิล
                เลข 3.  หมายถึง เหล็กกล้าประสมนิเกิลและโครเมียม
                เลข 4.   หมายถึง เหล็กกล้าประสมโมลิบดินั่ม
                เลข 5.  หมายถึง  เหล็กกล้าประสมโครเมียมและวานาเดี่ยม
                เลข 6.  หมายถึง  เหล็กกล้าประสมทังสเตน
                เลข 8   หมายถึง เหล็กกล้าประสมนิเกิลโครเมี่ยมและโมลิบดินั่ม
                เลข 9   หมายถึง  เหล็กกล้าประสมซิลิกอนและแมงกานีส

ตัวเลขหลักที่ 2

                เป็นตัวบอกปริมาณของตัวเลขหลักที่ 1 หรือเป็นตัวบอกประมาณสารที่ประสมในเหล็กกล้า (บอกเป็นเปอร์เซ็นต์)

ตัวเลขหลักที่เหลือ

                ตัวเลขหลักที่เหลือนั้นอาจจะมีอยู่ 2 หลักหรือ 3 หลัก ตัวเลขหลักที่เหลือนี้จะเป็นตัวบอกปริมาณของคาร์บอนที่ประสมในเหล็กกล้าโดยจะต้องหารด้วย 100 เสมอ

ตัวอย่าง     SAE  4320  หมายความว่า

                หมายถึง มาตรฐานของเหล็กระบบ    SAE

                เลข 4     หมายถึง  เหล็กกล้าประสมโมลิบดินั่ม
                เลข 3     หมายถึง  มีโมลิบดินั่มอยู่ 3%     SAE  4320
                เลข 20   หมายถึง มีคาร์บอนอยู่ 0.2%

ตัวอย่าง   SAE  2440

                หมายความว่า มาตรฐานของเหล็กระบบ SAE เป็นเหล็กกล้านิเกิลมีนิเกิลประสมอยู่ 4% และมีคาร์บอนประสมอยู่ 0.4%

2.  ระบบ   AISI  เป็นมาตรฐานของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าของอเมริกาซึ่งได้พัฒนามาจากระบบ SAE คือการอ่านสัญลักษณ์เหมือนกันต่างกันตรงที่ระบบ  AISI จะมีตัว
อักษรนำหน้าตัวเลข ตัวอักษรนั้นจะถึงกรรมวิธีในผลิตเหล็กว่า ผลิตจากเตาชนิดใด

                ตัวอักษรที่ใช้มีความหมายดังนี้

                 A   หมายถึง  เหล็กที่ผลิตได้จากเตา             BESSEMER                ชนิดที่เป็นด่าง
                 B   หมายถึง   เหล็กที่ผลิตได้จากเตา            BESSEMER                ชนิดที่เป็นกรด
                 C   หมายถึง   เหล็กที่ผลิตได้จากเตา            OPEN HEARTH        ชนิดที่เป็นด่าง
                 D   หมายถึง   เหล็กที่ผลิตได้จากเตา            OPEN HEARTH         ชนิดที่เป็นกรด
                 E   หมายถึง   เหล็กที่ผลิตได้จากเตา            ELECTRIC

ตัวอย่าง        AISI E 3310

                หมายความว่ามาตรฐานของเหล็กระบบ  ที่เป็นเหล็กกล้าประสมนิเกิลและโครเมียมมี
นิเกิลประสมอยู่ 3% มีโครเมี่ยมประสมอยู่เล็กน้อยมีคาร์บอนประสมอยู่  0.1% และเป็นเหล็กกล้าที่ผลิตจากเตา

ระบบเยอรมัน

                การจำแนกประเภทของเหล็กระบบเยอรมันจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้คือ                                                                                     1.  เหล็กกล้าคาร์บอน
                2.  เหล็กกล้าประสมต่ำ
                3.  เหล็กกล้าประสมสูง
                4.  เหล็กหล่อ

เหล็กกล้าคาร์บอน

                เหล็กกล้าชนิดนี้สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานเป็น 2 อย่างคือ

           1.  เหล็กที่นำไปใช้งานได้เลยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณสมบัติโดยใช้ความร้อน ใช้อักษรนำหน้าว่า ST และตามด้วยตัวเลขซึ่งบอกถึงความสามารถที่จะทนแรงดึงได้สูงสุดของเหล็กชนิดนี้มีหน่วยเป็น กก/มม

ตัวอย่าง      ST 37

                หมายถึง  เหล็กกล้าคาร์บอนที่สามารถทนแรงดึงได้สูงสุด 37 กก/มม

                2.  เหล็กที่ต้องนำไปผ่านการปรับปรุงคุณสมบัติโดยใช้ความร้อนก่อนที่จะนำไปใช้งาน เหล็กชนิดนี้จะนำหน้าด้วยอักษร  C  และตามด้วยตัวเลขที่แสดงปริมาณเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอน  (จะต้องหารด้วย  100  เสมอ)

ตัวอย่าง       C25

                หมายถึง  เหล็กกล้าคาร์บอนที่มีคาร์บอนประสมอยู่  0.25 %

เหล็กกล้าประสมต่ำ        (LOW ALLOY STEEL)

                การกำหนดมาตรฐานของเหล็กกล้าประสมต่ำ  จะบอกปริมาณของคาร์บอนที่ประสมอยู่ข้างหน้าแต่ไม่นิยมเขียนกำกับไว้ ตัวต่อมาจะเป็นชนิดของสารที่เข้าไปประสมจะไม่ใช่จำนวนที่แท้จริงการจะทราบจำนวนที่แท้จริงจะต้องนำ Factor  ของสารที่ประสมแต่ละชนิดไปหารค่าปริมาณ       ของสารชนิดนั้น ๆ มีดังนี้คือ

-   Co, Cr, Mn, Ni, St, W               ค่าของ    Factor   ได้แก่    4
-   Al, Cu, Mo, Pb, Ti, V               ค่าของ  Factor ได้แก่    10
-  C, N, P, S                                   ค่าของ  Factor ได้แก่    100
-  Zn, Sn, Mg, Fe                          ค่าของ  Factor ได้แก่   1

ตัวอย่าง        20 Mn Cr 54

                ปริมาณของโครเมียมที่ประสมอยู่
                ปริมาณของแมงกานีสประสมอยู่
                โครเมียม         20  Mn Cr    54
                แมงกานีส
                ปริมาณของคาร์บอนที่ประสมอยู่

                หมายความว่า เป็นเหล็กกล้าประสมต่ำที่มีปริมาณของคาร์บอนประสมอยู่ 0.2% มีแมงกานีสประสมอยู่ 1.2% และมีโครเมียมประสมอยู่ 1%
ตัวอย่าง    25  GrMo  4

                หมายความว่า เป็นเหล็กล้าประสมต่ำที่มีปริมาณของคาร์บอนประสมอยู่ 0.25% มีโครเมียมประสมอยู่ 1% มีโมลิบดินั่มประสมอยู่เล็กน้อย (โมลิบดินั่มไม่มีตัวเลข)

เหล็กกล้าประสมสูง      (HIGH ALLOY STEEL)

                การกำหนดมาตรฐานของเหล็กกล้าประสมสูงนั้น จะใช้อักษร  เขียนนำหน้าไว้ก่อนแล้วตามด้วยปริมาณของคาร์บอนที่ประสมอยู่ (หารด้วย 100 เสมอ)  ตัวต่อมาจะเป็นชนิดของสารที่นำไปประสม ส่วนตัวเลขจะบอกปริมาณของสารที่ประสมนั้น

                ในเหล็กกล้าประสมสูง ไม่ต้องนำ  Factor ของสารที่ประสมไปหารปริมาณของสารที่ประสม
ตัวอย่าง    X 35 NiCr  188
                ปริมาณของนิเกิลที่ประสมอยู่
                ปริมาณของโครเมี่ยมที่ประสมอยู่                         X 35 NiCr  188
                นิเกิล
                โครเมียม
                ปริมาณของคาร์บอนที่ประสมอยู่
                เหล็กกล้าประสมสูง

เหล็กหล่อ

                เหล็กหล่อแต่ละชนิด  จะมีสัญลักษณ์กำหนดไว้ดังนี้

GS      =              เหล็กเหนียวหล่อ
GG     =              เหล็กหล่อสีเทา
GGG  =               เหล็กหล่อกราพไฟต์ก้อนกลม
GT     =               เหล็กหล่อเหนียว
GTS   =               เหล็กหล่อเหนียวสีดำ
GH     =               เหล็กหล่อแข็ง
GTW =             เหล็กหล่อเหนียวสีขาว

                การเขียนสัญลักษณ์ของเหล็กหล่อ แยกออกได้ดังนี้คือ

                1.  เขียนบอกความสามารถที่รับแรงดึงได้สูงสุดของเหล็กหล่อชนิดนี้ มีหน่วยเป็น กก/มม

ตัวอย่าง  GS-52

                หมายความว่า เป็นเหล็กเหนียวหล่อสามารถทนแรงดึงได้ 52 กก/มม
                2.  เขียนบอกปริมาณของคาร์บอนที่ประสมอยู่ในเหล็กหล่อ โดยหารด้วย 100 เสมอ

ตัวอย่าง  GS-C90

                หมายความว่า  เป็นเหล็กเหนียวหล่อมีปริมาณของคาร์บอนประสมอยู่ 0.90 %

 
view